วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน



ที่ตั้งและแผนที่อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนต.แจ้ซ้อน อ. เมืองปาน จ. ลำปาง 52240โทรศัพท์ : 0 5438 0000, 08 9851 3355 โทรสาร : 0 5438 0457 (VoIP)หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ : นายพูลสถิตย์ วงศ์สวัสดิ์

          อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอเมืองปาน อำเภอแจ้ห่ม อำเภอวังเหนือ และอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่านานาชนิด และมีทรัพยากรทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตก แอ่งน้ำอุ่น บ่อน้ำพุร้อน ซึ่งสามารถเป็นหลักฐานหนึ่งที่แสดงว่าใต้พื้นโลกเรายังมีความร้อนระอุอยู่ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง มีเนื้อที่ประมาณ 480,000 ไร่ หรือ 768 ตารางกิโลเมตร

           ป่าไม้เขตลำปางได้มีหนังสือ ที่ กษ 0709 (ลป)/4181 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2524 เรื่อง ขอกำหนดพื้นที่ป่าบริเวณน้ำตกแจ้ซ้อนเป็นวนอุทยาน กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงมีคำสั่งที่ 1648/2524 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2524 ให้นายนฤทธิ์ ตันสุวรรณ นักวิชาการป่าไม้ 6 ไปทำการสำรวจ สรุปได้ว่าสภาพป่าบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีจุดเด่นทางธรรมชาติสวยงามหลายแห่ง มีน้ำตกและน้ำพุร้อนไหลตลอดปี เหมาะสำหรับจัดเป็นวนอุทยาน ในปีงบประมาณ 2526 กรมป่าไม้ จึงได้ดำเนินการจัดตั้งวนอุทยานแอ่งน้ำอุ่น (วนอุทยานน้ำตกแจ้ซ้อน) บริเวณน้ำตกแจ้ซ้อน ตำบลแจ้ซ้อน กิ่งอำเภอเมืองปาน อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เนื้อที่ประมาณ 45,000 ไร่ หรือ 75 ตารางกิโลเมตร โดยอยู่ในความดูแลของสำนักงานป่าไม้เขตลำปาง 



การเดินทาง
รถยนต์
อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนอยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดลำปางประมาณ 75 กิโลเมตร สามารถเดินทางไปอุทยานแห่งชาติได้ดังนี้

         จากตัวเมืองลำปาง ไปตามทางหลวงหมายเลข 1035 (ลำปาง-วังเหนือ) ระยะทาง 58 กิโลเมตร ผ่านอำเภอแจ้ห่ม เลี้ยวซ้ายท่สามแยกบ้านปงคอบ ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1287 (แจ้ห่ม-เมืองปาน)ระยะทาง 6 กิโลเมตร เลี้ยวขวาไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1252 (ข่วงกอม-ปางแฟน)ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าตามทาง รพช.อีกประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
(มีป้ายบอกตลอดเส้นทาง) 

อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย


อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย (ป่าคา)



อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย เดิมชื่อ ป่าคา หมายถึงป่าคาหลวง หรือสันกลางแม่วังช้าง ตั้งอยู่ที่บ้านป่าคา หมู่ที่ ๖ ตำบลบ้านแก่ง ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เพื่อรักษาสภาพป่าที่เป็นต้นน้ำลำธาร และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไว้  ครอบคลุมพื้นที่ของอำเภอศรีสัชนาลัย และอำเภอทุ่งเสลี่ยม มีพื้นที่ประมาณ 213 ตารางกิโลเมตร และต่อมากรมป่าไม้ได้ดำเนินการผนวกพื้นที่เพิ่มเติมในท้องที่อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง มีพื้นที่ประมาณ 106 ตารางกิโลเมตร รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 319 ตารางกิโลเมตร อุทยานฯ มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าคาขนาดใหญ่ เป็นต้นน้ำของแม่น้ำท่าแพ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปมีลักษณะสัณฐานเป็นเทือกเขา ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดงดิบเขา สัตว์ป่าที่พบได้แก่ กระแต เสือไฟ อีเห็นข้างลาย เลียงผา เต่าปูลู เป็นต้น และได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ  ศรีสัชนาลัย เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2524 
                 อัตราค่าเข้าอุทยานฯ  นักท่องเที่ยว ชาวไทย เด็ก 10  บาท ผู้ใหญ่ 20  บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 100  บาท ผู้ใหญ่ 200  บาท 
สถานที่พัก  ทางอุทยานฯ มีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว จำนวน 6  หลัง พักได้ 4-8  คน ราคา 300 - 800        บาท/คืน และทางอุทยานฯ ได้จัดสถานที่กางเต็นท์ไว้สำหรับนักท่องเที่ยวที่นำเต็นท์มาเอง เสียค่าพื้นที่ 10  บาท/คืน หรือ    จะเช่าเต็นท์ของทางอุทยานฯ พักได้ 2-8 คน ราคา 40-120 บาท/คืน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่อุทยานแห่งชาติ    ศรีสัชนาลัย ตู้ ปณ. 10 ตำบลบ้านแก่ง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย 64130    โทร. 0-5561-9214-5  หรือที่งานบริการบ้านพัก ส่วนอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ บางเขน กรุงเพทฯ โทร. 0-2561-4292 
                การเดินทาง   รถยนต์ จากจังหวัดสุโขทัยสามารถใช้เส้นทางได้ 2  ทาง เส้นทางแรก  จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 12  เส้นสุโขทัย-ตาก เลี่ยงเมืองไปประมาณ 15  กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนหมายเลข 1113  มาถึงสี่แยกสารจิตรแล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนหมายเลข 1294  เข้าสู่อุทยานฯ รวมระยะทางประมาณ 100  กิโลเมตร เส้นที่สอง จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 101  เส้นสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย ถึงอำเภอศรีสัชนาลัยให้เลี้ยวซ้ายผ่านหน้าโรงพยาบาลศรีสัชนาลัย ทางหลวงหมายเลข 1035 ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 1249 เข้าสู่อุทยานฯ รวมระยะทางประมาณ 122  กิโลเมตร รถโดยสารประจำทาง  มีรถออกจากอำเภอศรีสัชนาลัย เป็นรถสองแถว จอดตรงข้ามสถานีตำรวจ อำเภอศรีสัชนาลัย มีรถออกก่อนเที่ยง วันละ 1 เที่ยว ใช้เวลาเดินทาง 50  นาที อัตราค่าโดยสารคนละ 30 บาท
                  ในกรณีที่เดินทางเป็นหมู่คณะ อาจจ้างเหมาจากท่ารถดังกล่าวเข้าไปอุทยานฯ ได้ ราคาค่าจ้างเหมาต่อเที่ยวประมาณ 600-800 บาท

แพะเมืองผี






               วนอุทยานแพะเมืองผีอยู่ในท้องที่ตำบลแม่หล่าย ตำบลน้ำชำ ตำบลทุ่งทุ่งโฮ่ง ห่างจากตัวเมืองจังหวัดแพร่ประมาณ 10 กม. ไปตามถนนยันตรกิจโกศล ถนนหลวงหมายเลขประมาณ 7 กม. แยกขวามือไปแพะเมืองผีประมาณ 3 กม. จุดเด่นเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะของดินพังทะลายโดยกระแสน้ำ กรมป่าไม้ได้เข้าดำเนินการทำการสำรวจและประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2524 เนื้อที่ประมาณ 500 ไร่

ประวัติความเป็นมา
            ได้มีการจดบันทึกประวัติไว้ดังนี้
            วนอุทยานแพะเมืองผี เมื่อครั้งในอดีตกาลนานมาแล้ว ชาวบ้านขนานนามว่า เป็น “แพะเมืองผี ” ไม่มีผู้ใดทราบประวัติเป็นที่แน่นอนแต่ได้เล่าสืบทอดกันมาว่า แต่ก่อนบริเวณป่าแห่งนี้ เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธ์ไม้ใหญ่ขึ้นอยู่หนาแน่นและสัตว์ป่าน้อยใหญ่เป็นจำนวนมาก ในสมัยนั้น มีครูบาปัญโญ ฯ เป็นเจ้าอาวาสวัดน้ำชำ ตำบลน้ำชำ ซึ่งชาวบ้านได้พร้อมใจกันนิมนต์มาเป็นเจ้า-อาวาสองค์แรกของวัดน้ำชำและได้บอกเล่าประวัติแพะเมืองผีสืบทอดติดต่อกันมาว่า มีหญิงชราคนหนึ่งซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ ย่าสุ่ม ” เข้าไปหาผัก หน่อไม้ เป็นอาหาร แต่หลงป่าแล้วไปพบหลุมเงิน ทองคำ จึงได้นำเงิน และทองคำ ใส่ถุงแล้วเตรียมหาบจะกลับบ้านเสร็จแล้วเกิดหลงป่าอีก โดยไม่สามารถนำเอาหาบเงิน ทองคำ ออกมาได้ ย่าสุ่มจึงวางหาบจะกลับบ้านเสร็จแล้วเกิดหลงป่าอีก โดยไม่สามารถนำเอาหาบเงิน คำ ออกมาได้ ย่าสุ่มจึงวางหาบแล้วหาไม้มาคาดเป็นราว (ราวไม้) ต่อมาออกจากป่าจนถึงบ้านและเดินกลับไปราวไม้ที่คาดไว้เป็นแนวทางไว้ ซึ่งปัจจุบันเป็นร่องทางน้ำพบเห็นได้ เป็นแนวออกไปทางบ้านน้ำชำทิศตะวันออกของแพะเมืองผี ย่าสุ่ม จึงได้ชักชวนชาวบ้านให้เข้าไปด้วยปรากฏว่า ชาวบ้านก็ได้ติดตามย่าสุ่มเข้าไปถึงจุดที่ย่าสุ่มวางหาบไว้แต่ไม่พบเงินและทองคำ ในหาบแต่อย่าใด ไม่รู้ว่าหายไปได้อย่างไร ชาวบ้านจึงขนานนามสถานที่นั้นว่า “ แพะย่าสุ่มคาดราว ” และได้ช่วยกันค้นหา พบรอยเท้าคนเดิน ย่สสุ่ม และชาวบ้านได้เดินตามรอยเท้าเหล่านั้นไปจนกระทั่งมาถึงพื้นที่ซึ่งชาวบ้านขนานนามว่า “ แพะเมืองผี ” ภาษาพื้นเมืองทางภาคเหนือคำว่า “แพะ ” ในที่นี้หมายถึงป่าแพะนั่นเอง ส่วนคำว่าเมืองผี ก็เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันสืบมาในสมัยดึกดำบรรพ์ โดยอาจจะเห็นว่าป่าแพะตรงนี้มีลักษณะพิศดาลของภูมิประเทศ และเพราะความเร้นลับตามเรื่องราวที่เชื่อถือเล่าสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ก็อาจเป็นได้



สภาพอากาศ
            บริเวณพื้นที่วนอุทยานแพะเมืองผี แบ่งออกเป็น 3 ฤดู ดังนี้
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์
                          ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม - พฤษภาคม
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน - กันยายน

การคมนาคม

            การเดินทางไปวนอุทยานแพะเมืองผีนับว่าสะดวกมากหากมีรถไปเอง เดินทางจากจังหวัดแพร่ ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ระหว่างจังหวัดแพร่-จังหวัดน่าน ห่างจากตัวจังหวัดแพร่ไปประมาณ 7 กม. จะมีทางแยกขวามือไปวนอุทยานแพะเมืองผีอีก 3 กม. ถนนลาดยางตลอด ถ้าหากไม่มีรถไปเองก็ติดต่อว่าจ้างเหมาะรถโดยสารจากสถานีบ.ข.ส.จังหวัดแพร่ หรือมอเตอร์ไซด์รับจ้างก็ได้ รวมระยะทางประมาณ 10 กม.

สิ่งอำนวยความสะดวก
             สำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกนั้นทางวนอุทยานแพะเมืองผี ไม่มีที่พักบริการแก่นักท่องเที่ยวเหมือนกับอุทยานแห่งชาติ หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะเดินทางไปพักแรมค้างคืนและพักผ่อนหย่อนใจหรือศึกษาหาความรู้ทางธรรมชาติ โปรดนำเต้นท์ไปกางเองทางวนอุทยานจัดสถานที่ไว้ให้พร้อมกับห้องสุขา โปรดเตรียมอาหารไปเองและไปติดต่อขออนุญาตกับเจ้าหน้าที่วนอุทยานแพะเมืองผีโดยตรง มีห้องสุขา ร้านค้าของเอกชนบริการ หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. 5614292 - 3 ต่อ 719 ฝ่ายจัดการวนอุทยาน ส่วนอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 หรือสำนักงานป่าไม้เขตแพร่ จังหวัดแพร่ โทร. 511162

ปางอุ๋ง


ปางอุ๋ง หรือที่มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า “โครงการพระราชดำริปางตอง 2 (ปางอุ๋ง)” นั้น เป็นโครงการในพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเห็นว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่อันตราย อยู่ติดแนวชายแดนพม่ามีกองกำลัง ต่างๆ มีการขนส่ง ปลูกพืชเสพติด รวมไปถึงการบุกรุกพื้นที่ตัดไม้ทำลายป่าอยู่เสมอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระราชินีนาถจึงมีพระราชดำริให้รวบรวมราษฎรกลุ่มน้อยบริเวณนั้น และ พัฒนาความเป็นอยู่ ส่งเสริม อาชีพปลูกป่า สร้างอ่างเก็บน้ำ โดยมีพระราชประสงค์สร้างความมั่นคงแนวชายแดน พัฒนาความเป็นอยู่ของ ราษฎร ให้ดีขึ้นและฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืนตลอดไป
ปางอุ๋ง
ปางอุ๋ง มีลักษณะเป็นพื้นที่เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่บนยอดเขาสูง ริมอ่างเก็บน้ำเป็นทิวสนที่ปลูกเรียงรายกัน ปางอุ๋ง ที่หลายๆ คนอาจยังไม่เข้าใจความหมาย คำว่า “ปาง” ซึ่งหมายถึงที่พักของคนทำงานในป่า ส่วน “อุ๋ง” นั้น เป็นภาษาเหนือหมายถึงที่ลุ่มต่ำคล้ายกระทะใบใหญ่มีน้ำขังเฉอะแฉะ ก็น่าจะหมายถึงที่พักริมอ่างเก็บน้ำนี่เอง ภาพอันสวยงามของไอหมอกที่ลอยเหนือทะเลสาป กับบรรยากาศอันหนาวเหน็บในยามเช้า ทำให้ปางอุ๋ง กลาย เป็น เป็นสถานที่ท่องเี่ที่ยวมาแรง ยอดฮิต สุดแสนโรแมนติกติดอันดับต้นๆของแม่ฮ่องสอน จนได้รับขนานนาม ว่าเป็น "สวิตเซอร์แลนด์แห่งเมืองไทย" ยิ่งยามพระอาทิตย์ขึ้นจะสะท้อนผืนน้ำผ่านทิวสนและไอหมอกบางๆ ยิ่งเ็ป็นภาพที่สร้างความประทับยากจะลืมเลือน แม้ในกระทั่งเวลาที่หมอกเลือนลางหายไปก็ยังคงความงาม
ปางอุ๋ง ปางอุ๋ง
ที่ปางอุ๋งนอกจากชมบรรยากาศของสายหมอกในยามเช้าแล้ว กิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่พลาดไม่ได้ คือ การนั่งแพ ชมทัศนียภาพและบรรยากาศโดยรอบ รวมถึงชมนดาราแห่งปางอุ๋ง นั่นก็คือหงส์พระราชทานจากสมเด็จพระราชินี ซึ่งเป็นหงส์ดำและหงส์ขาวอย่างละ 1 คู่ด้วยกันและไม่ควรพลาดที่จะไปชมสวนปางอุ๋งใกล้กับ ที่ทำการของ โครงการพระราชดำริฯ ซึ่งจัดสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีพืชพรรณที่กลมกลืนกับสภาพภูมิประเทศบนที่สูงทดแทนไร่ฝิ่น ร้างแต่ดั้งเดิมซึ่งไว้ลูกพืชที่ให้ประโยชน์ทางด้านอาหารและยาแพทย์แผนไทย และสร้างความกลมกลืนกับ ภูมิประเทศ เช่น อะโวคาโด พลับ สาลี่ บ๊วยอีกทั้งยังมีการตกแต่งด้วยสวนไม้ ดอกไม้ประดับเมืองหนาว เช่น กุหลาบ ไฮเดรนเยีย พวงแสด อีกทั้งยังมีการพยายามนำพืชและสัตว์ประจำถิ่นของพื้นที่ปางอุ๋งกลับมา เช่น เอื้องแซะและกล้วยไม้ต่างๆ และสัตว์อย่างเขียดแลน เป็นต้น

ดอยอินทนนท์


ดอยอินทนนท์

ดอยอินทนนท์
ดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อพ.ศ.2515 ประกาศเป็นอุทยานฯ เป็นลำดับที่ 6 ของประเทศไทย มีพื้นที่ 482.4 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ดอยอินทนนท์แต่เดิมดอยนี้มีชื่อว่า "ดอยหลวง" หรือ "ดอยอ่างกา"ดอยหลวง มาจากขนาดของดอยที่ใหญ่มาก ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "ดอยหลวง" (หลวง: เป็นภาษาเหนือ แปลว่า ใหญ่)
ดอยอินทนนท์ อดีตกาลก่อนป่าไม้ทางภาคเหนืออยู่ในความควบคุมของเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (องค์สุดท้าย) พระองค์ให้ความสำคัญกับป่าไม้อย่างมาก โดยเฉพาะป่าในบริเวณดอยหลวง ทรงรับสั่งว่า หากสิ้นพระชนม์ลงให้นำอัฐิบางส่วนขึ้นไปสร้างสถูปบรรจุไว้บนดอย ดอยนี้จึงมีนามเรียกขานว่า "ดอยอินทนนท์" แต่มีข้อมูล บางกระแสกล่าวว่า ที่ดอยหลวงเรียกว่า ดอยอินทนนท์ นั้น เป็นเพราะเนื่องจากว่าเป็นการให้เกียรติ เจ้าผู้ครองนคร จึงตั้งชื่อจากคำว่า "ดอยหลวง" ซึ่งเป็นชื่อที่มีความซ้ำกับดอยหลวง ของอำเภอเชียงดาว แต่ภายหลังมีชาวเยอรมัน มาทำการสำรวจและวัด ซึ่งปรากฎผลว่า ดอยหลวง หรือดอยอ่างกา ที่อำเภอแม่แจ่มมีความสูงกว่า ดอยหลวง ของอำเภอเชียงดาว จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ เพื่อไม่ให้มีความซ้ำซ้อนกัน และเรียกดอยแห่งนี้ว่า "ดอยอินทนนท์"

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของ "ป่าสงวนแห่งชาติดอยอินทนนท์" ต่อมาได้ถูกสำรวจและจัดตั้งเป็นหนึ่งในสิบสี่ ป่าที่ทางรัฐบาลให้ดำเนินการเป็นอุทยานแห่งชาติซึ่งครั้งแรกกรมป่าไม้เสนอ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ให้มี พื้นที่ 1,000 ตร.กม. หรือประมาณ 625,000 ไร่ แต่เนื่องจากพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ อาศัยอยู่ก่อนหลายชุมชน จึงทำการสำรวจใหม่ และกันพื้นที่ที่ราษฎร อยู่มาก่อน และคาดว่าจะมีปัญหาในอนาคตออก จึงเหลือพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 270 ตร.กม. หรือประมาณ 168,750 ไร่ ประกาศลงวันที่ 2 ตุลาคม 2515 และในวันที่ 13 มิถุนายน 2521 รัฐบาลประกาศพื้นที่เพิ่มอีกเป็น 482.4 ตร.กม. อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ มีความสูงจากระดับน้ำทะลปานกลาง 400-2,565.3341 เมตร เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยสำหรับวัตถุประสงค์ในการกำหนดที่ดินให้ เป็นอุทยานแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 หมวด 1 มาตรา 6


การเดินทางไปดอยอินทนนท์

การเดินทางไปดอยอินทนนท์
การเดินทางไปดอยอินทนนท์ : ระยะทางจากตัวเมืองขึ้นไปจนถึงยอดดอยอินทนนท์ ประมาณ 106 กม. โดยเดินทางตามทางหลวงหมายเลข 108 เชียงใหม่ - จอมทอง ถึงหลักกม.ที่ 57 ก่อนถึงอำเภอจอมทอง 1 กม. แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 1009 สายจอมทอง-อินทนนท์ ระยะทาง 48 กม. ถึงยอดดอยอินทนนท์ เป็นถนนลาดยางอย่างดีแต่ค่อนข้างสูงชัน ผู้ที่ใช้รถยนต์ส่วนตัว รถจะต้องมีสภาพดี ผู้ที่ไม่มีรถยนต์ส่วนตัว สามารถเช่ารถสองแถวที่น้ำตกแม่กลางได้ ส่วนการนำรถขึ้นไปเองนั้น จะต้องเสียค่าผ่านทาง ตรงด่านตรวจและจำหน่ายบัตรค่าธรรมเนียมบริเวณหลักกม.ที่ 8 ทางอุทยานฯ มีที่พักไว้บริการนักท่องเที่ยว สนใจติดต่อจองล่วงหน้าที่ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร.579-5734, 579-7223